ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง
1.ความดันโลหิตสูง
2.เบาหวาน
3.ไขมันในเลือดสูง
4.ทานยาแก้ปวดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
5.กรรมพันธุ์คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต
อาหารที่ควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคไตจุดประสงค์คือเพื่อต้องการควบคุม สารบางชนิดที่มีอยู่ในอาหาร เช่น
ฟอสฟอรัส – มีมากในผักใบเขียว
คลอเรสเตอรอล – อาหารมันๆและไข่แดง อาหารทะเล
กรดยูริก – มีมากในเครื่องในสัตว์
น้ำตาล – ของหวานต่างๆ
เกลือ (โซเดียม) – เครื่องปรุงรสที่มีรสเค็ม
ซึ่งอาหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวการที่ทำให้ไตเสื่อม และเพื่อเป็นการลดความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ไตเสื่อเร็วขึ้น
อาหารที่ผู้ป่วยไตเสื่อมห้ามรับประทาน
– ยาแก้ปวดลดอักเสบ กล้ามเนื้อประเภทต่างๆ ยามีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น
– ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
– ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียมที่เป็นอันตรายต่อไตได้
– ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ
– โปรตีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ผู้ป่วยโรคไตก็ยังต้องรับประทานอาหารที่ให้โปรตีน แต่ควรจำกัดปริมาณอาหารที่มีโปรตีนสูงทั้งจากพืชและเนื้อสัตว์ไม่ให้มากเกินไป เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต
– สมุนไพร เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย โสม ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่ทำมาจากพืชต่างๆ และกระเทียม
– อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง
– ห้ามใช้เครื่องปรุงที่มีรสเค็มเด็ดขาด เช่น ซอสปรุงรสเทียม เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม หากต้องการเพิ่มรสชาติอาหารให้ใช้เครื่องเทศแทน
– อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เป็นต้น
– อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น ผักผลไม้ที่มีสีซีดๆ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนูขาว ฟักเขียว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
– อาหารที่มีกรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว