อนุมูลอิสระ เป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกันและเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของ ริ้วรอย แก่ก่อนวัย และโรคความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่หนักสุด คือ การก่อตัวเป็นเนื้อร้าย หรือ เซลล์มะเร็งนั้นเอง
โรคมะเร็งเกิดจากเป็นเซลล์ที่ผิดปกติของร่างกายแบ่งตัวในทางที่ไม่สามารถควบคุมได้ แพร่กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่ออื่น ๆ โดยรอบ อนุมูลอิสระจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งโดยการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมทำให้กระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ผิดปกติไปจนส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการแบ่งตัวและการกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกายมนุษย์ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากเซลล์นับล้านล้านเซลล์ โดยปกติเซลล์ของมนุษย์เติบโตและแบ่งตัวแทนที่เซลล์เก่าที่ตายลงแต่ เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่พัฒนาผิดกระบวนการตามธรรมชาติ แบ่งตัวมากผิดปกติและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถแพร่กระจายเข้าไปเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง รวมถึงแพร่กระจายผ่านทางเลือดหรือระบบน้ำเหลืองทำให้เกิดมะเร็งแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
โดยปกติร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระอยู่แล้ว เราเรียกสารตัวนั้นว่า สารต้านอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ด้วยอายุที่มากขึ้น ความเครียดจากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การปิ้ง ทอด ย่าง หรือ มลพิษทางอากาศ ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป แสง UV ทำให้ร่ายกายไม่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระ หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้
สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในอาหารประเภทใด
สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วย
- สารเบต้าแครอทีน เช่น มะเขือเทศ แครอท น้ำเต้า แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงนอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบสีเขียวบางประเภท เช่น ผักขม กะหล่ำปลี
- สาลูทีน ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น พบได้มากในผักใบสีเขียว เช่น ผักขม กะหล่ำปลี
- สารไลโคพีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในมะเขือเทศ แตงโม มะละกอ องุ่น ส้ม ฝรั่ง
- สารซีลีเนียม ไม่ได้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆพบได้พืชที่ปลูกลงดิน เช่น ข้าว นอกจากนี้ยังพบได้ในเนื้อสัตว์และขนมปัง
- วิตามินเอ มีมากในแครอท นม ไข่แดง เนยแข็ง
- วิตามินซี พบได้มากในผัก ผลไม้หลายประเภทที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม แอีปเปิล มะละกอ ฯลฯ
- วิตามินอี พบได้ในถั่วอัลมอนต์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง มะม่วง ผักบล็อกโคลี
ในเห็ดหลินจืออุดมได้สารสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก อาทิ โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) หรือเบต้ากลูแคน ช่วยยับยั้งอาหารผิดปกติของร่างกาย ในเห็ดหลินจือแต่ละสายพันธ์ต่างมีสาร สารโพลีแซคคาไรด์ไม่เท่ากัน ซึ่งเห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีมากกว่า 100 สายพันธ์ แต่สายพันธ์ที่มี สารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดได้แก่ Ganoderma Lucidum – กาโนเดอร์ม่า ลูวิดัม หรือสายพันธ์สีแดง